บริการกำจัดสัตว์พาหะ

PEST MANAGEMENT

เลือกประเภทการรับบริการ

แอ๊ดวานซ์ กรุ๊ป เอเซีย มีบริการสำหรับลูกค้าทุกความต้องการ

ทำไมคุณถึงต้องใช้บริการกำจัดแมลงสาบ, กำจัดหนู และ กำจัดตัวเรือด ?

แมลงสาบ – เป็นพาหะนำโรคที่มีขนาดเล็ก จึงมักจะกระจายตัวไปได้ทั่วสถานที่ได้อย่างง่ายดาย ถ้าคุณไม่เร่งกำจัดแมลงสาบแล้วละก็ แมลงสาบพวกนี้จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคในที่ต่างๆ จนกลายเป็นพาหะนำโรค เช่น บิด อุจจาระร่วง ไทฟอยด์ ไข่พยาธิต่างๆ เป็นต้น มากไปกว่านั้นกลิ่นของแมลงสาบยังก่อให้เกิดอาการ ผิวหนังเกิดอาการแพ้ คัน อักเสบ อาการหอบหืด อีกด้วย

หนู – มากกว่าการก่อความน่ารำคาญจากการแทะข้าวของของคุณจนเสียหาย คุณรู้หรือไม่ว่า ถ้าคุณยังไม่รีบหาวิธีการกำจัดหนูแล้ว พวกหนูเหล่านี้จะเป็นพาหะที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนู, โรคไข้หนู, กาฬโรค รวมไปถึงโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอีกด้วย

ตัวเรือด – เป็นปรสิตขนาดเล็กมากจนมองเห็นได้ยาก มักอาศัยอยู่ตามโครงเตียง หัวเตียง ฟูกนอน หมอน ในผ้าม่าน ตามขอบและตะเข็บของเครื่องเรือน โดยตัวเรือดพวกนี้มักจะชอบดูดเลือดทั้งมนุษย์ และ สัตว์เลี้ยงของคุณ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ ผิวหนังอักเสบและบวมบริเวณที่ตัวเรือดดูด เพราะฉะนั้น เป็นการป้องกันตัวเอง และสัตว์เลี้ยงที่คุณรัก ถ้าคุณพบว่ามีตัวเรือดอยู่ใกล้ตัวจึงควรหาวิธีกำจัดตัวเรือดอย่างเร่งด่วนที่สุด

คุณคงจะเห็นกันแล้วว่าถ้าคุณไม่เร่งกำจัดแมลงสาบ, กำจัดหนู และ กำจัดตัวเรือด จะส่งผลเสียต่อทั้งคุณ และสัตว์เลี้ยงของคุณมากแค่ไหน ปัญหาเหล่านี้จะถูกกำจัดได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่คุณติดต่อเรามาที่ แอ๊ดวานซ์ กรุ๊ป เอเซีย เพราะเรามีความเชี่ยวชาญในการ กำจัดแมลงสาบ, กำจัดหนู และ กำจัดตัวเรือด เป็นอย่างสูง ผ่านทั้งทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน รับรองได้เลยว่าคุณจะไม่ต้องมาพบเจอกับปัญหาแมลงสาบ, หนู และตัวเรือดที่คอยกวนใจคุณอีกต่อไป

ทำความรู้จักกับสัตว์พาหะ
ที่พบมากในประเทศไทย

ในประเทศไทยพบชนิดปลวกประมาณร้อยกว่าชนิด แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่พบเห็นบ่อยและสร้างความเสียหาย ระดับเศรษฐกิจ ความเสียหายทางเศรษฐกิจเมื่อรวมกันแล้ว ไม่น้อยกว่า 100ล้านบาทต่อปี การจัดการปัญหาที่เกิดจาก ปลวกจึงควรคำนึงถึง อาหารของปลวก (เซลลูโลส หนึ่งในส่วนผสมของไม้ และวัสดุอื่นๆ) ความชื้น(ตำแหน่งของรัง) และปัจจัยต่างๆเพื่อที่จะสามารถทราบรังของปลวกได้ถูก ตำแหน่งและเข้าควบคุมอย่างถูกวิธี

ปลวกกินบ้าน (สายพันธุ์Coptotermes) การทำลายบ้านในเขตเมือง ชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่ กทม. และระบาดมากในพื้นที่ ที่ระบบนิเวศน์เหมาะสม คือ ความชื้น และโครงสร้างอาคารที่ทรุดตัว รอยเเตกร้าวเล็กๆตามโครงสร้างบ้าน และบิ้วอินของบ้านสมัยใหม่ที่ไม่ใช่ไม้เเท้ แต่มีการตกเเต่งให้สวยสบายตา ซึ่งวัสดุไวต่อการเป็นอาหารที่ปลวกชื่นชอบ

เรื่องจริงของปลวก

-นางพญาปลวกที่อยู่ใต้ดิน สามารถผลิตไข่ได้วันละ 30000 ฟอง

– ความสามารถของปลวกสามารถขึ้นทำลายในจุดที่สูงมาก เช่น คอนโดชั้น 30

-เกิดการลุกลาม จากจุด 1 ไป จุด 2 ขยายไปจนลุกลามทั้งบ้าน ยากที่จะเเก้ไขทัน

 

วิธีการกำจัดเบื้องต้นด้วยตนเอง

1.ปลวกเป็นสัตว์ที่มีการทำลายล้างสูง เมื่อเกิดปัญหาแล้ว การกำจัดจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องของชนิดปลวก นิสัย แหล่งต้นตอปัญหา ลักษณะพื้นที่ สภาพแวดล้อม จากนั้นมาวิเคราะห์ วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการกำจัด

  1. เบื้องต้นเมื่อพบปัญหาปลวกไม่ควรใช้สารเคมี เพราะจะทำให้ปลวกที่ไม่ถูกสารเคมีหนีจากบริเวณนั้น และหาทางใหม่ ไปกัดกินจุดอื่นแทน ซึ่งทำให้ปัญหาควบคุมได้ยากขึ้น
  2. เมื่อพบปลวก แนะนำท่านแจ้งผู้เชี่ยวชาญ บริษัทที่น่าเชื่อถือ ให้ตรวจสอบและประเมินความรุนแรง ก่อนการตัดสินใจแก้ไขปัญหา เพราะปลวก ต้องควบคุมให้ครบทุกช่องทาง เพื่อลดปัญหาอย่างรวดเร็ว

 

วิธีการป้องกันกำจัดโดยผู้เชี่ยวชาญ

1.การป้องกันและกำจัดปลวกนั้น ทำได้ตั้งแต่ระหว่างการก่อสร้าง และหลังก่อสร้างเสร็จแล้ว

2.การป้องกันและกำจัดปลวกระหว่างก่อสร้าง  คือการวางระบบท่อกำจัดปลวก ไว้ที่คานใต้บ้าน เพื่อการฉีดหรืออัดน้ำยาสารเคมีกำจัดปลวกในครั้งแรกได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถทำในปีต่อไปได้

3.การป้องกันและกำจัดปลวกหลังก่อสร้างเสร็จแล้ว (และหากพบว่าไม่มีระบบวางท่อกำจัดปลวกใต้บ้าน)

จะมีสองวิธีในการควบคุม 3.1 ป้องกันและกำจัดปลวกโดยใช้สารเคมี 3.2  ป้องกันและกำจัดปลวกด้วยระบบเหยื่อ 

4.สำหรับบ้านที่เคยมีการใช้เคมีอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ยังพบปัญหาอยู่แนะนำให้เปลี่ยนระบบการใช้สารเคมีแบบสัมผัสตาย ให้เป็นแบบ เหยื่อล่อให้มากิน แล้วนำกลับไปสู่ปลวกตัวอื่นๆ ภายในรัง ซึ่งรวมทั้งปลวกทหาร ราชินีและราชา ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ปลอดภัยและได้ผลในระยะยาวนานกว่าวิธีการอื่นๆ

5.ปลวกที่ทำลายบ้านส่วนใหญ่เป็นปลวกทำรังลึกใต้ดิน การฉีดพ่นหรือปักอัดเคมีเป็นวิธีการป้องกันชั้นดินให้มีความเป็นพิษเพื่อให้ปลวกสัมผัสสารเคมีเมื่อทำทางเดินเข้ามาภายในบ้าง แต่ก็มีโอกาสที่มีช่องว่างปลวกสามารถแทรกตัวภายในอาคารได้ การใช้เหยื่อล่อปลวกเป็นวิธีการที่จะนำอาหารส่งให้ปลวกได้ทุกตัวภายในรังอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างยาวนาน

มด เป็น แมลงสังคมกลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แบบรวมกลุ่ม จะสังเกตได้ว่า มดชอบเดินรวมกันเป็นแถวยาวๆ  มีนิสัยชอบอาศัยในที่อบอุ่น เช่น ไมโครเวฟ ปลั๊กไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า ถังขยะ มดมีหลายสายพันธุ์ทั้งมีพิษ และไม่มีพิษ ในส่วนของมดที่พบบ่อยในประเทศไทย เช่น มดดำ มดเหม็น มดละเอียด มดคันไฟ มดแดง มดตะนอย มดน้ำผึ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า มดเป็นศัตรูทำลายพืชผลทางการเกษตร และสร้างความรบกวนต่อมนุษย์ ในบ้านเรือน ก่อความรำคาญใจ ทำความเสียหายได้ในหลายรูปแบบ

ความอันตรายจากมด

  1. มดขึ้นอาหาร อาหารจะเน่าเสียเร็วกว่าปกติ และเป็นพาหะนำโรคท้องร่วง เพราะอาหารจะปนเปื้อนแบคทีเรีย และเชื้อโรค ที่ติดตามขา ตามตัวมด
  2. มดในหลายสายพันธุ์ สามารถกัดหรือต่อยด้วยเหล็กใน ทำให้เกิดอาหารแพ้ เจ็บ แสบ เกิดเป็นแผลติดเชื้อซ้ำบริเวณที่ถูกกัด

3.หากมดทำรัง หรือ รวมกลุ่มกัน ด้วยปริมาณที่เยอะๆ  อาจสร้างความเสียหายกับของใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออย่างเช่นมดเหม็น ถ้าหากเราไปสัมผัสมันเข้า ก็จะได้กลิ่นเหม็นติดมือ ติดเสื้อผ้าได้

วิธีการกำจัดเบื้องต้นด้วยตนเอง

สังเกตทางเดินของมดและจุดเริ่มต้นว่ามดเข้ามาจากทางไหร และสามารถใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำ 1:1ใส่ขวดสเปย์แล้วนำไปฉีดพ่นในบริเวณทางเดินมด หรืออาจะใช้เจลมด 

วิธีการป้องกันกำจัดโดยผู้เชี่ยวชาญ

  1. จำแนกชนิดของมดเนื่องจากมดแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เช่น แหล่งอาหาร แหล่งหลบซ่อน แหล่งเพาะพันธุ์ และลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน
  2. สำรวจตรวจสอบ ทางเดินมดจุดรอยแตกของอาคาร และสถานประกอบการที่คาดว่ามดจะเข้าไปหลบซ่อน

3.แนะนำการซ่อมแซมจุดชำรุดตามซอกมุมต่างๆเพื่อปิดกั้นช่องทางไม่ให้มดเข้าสู่พื้นที่ภายใน และแนะนำการดูแลความสะอาดการสุขาภิบาล (5 ส.) อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดปัจจัยดึงดูดมดเข้าสู่พื้นที่

4. ใช้เจลกำจัดมดวางในจุดที่เหมาะสม ซึ่งเจลดังกล่าว มีวิธีการทำงานที่อิงกับพฤติกรรมทางธรรมชาติของแมลงสังคมอย่างมด กล่าวคือ มดงานมีหน้าที่หาอาหาร แล้วนำอาหารไปป้อนกลุ่มของมดตัวอื่นในรัง เช่น มดทหาร มดนางพญา และตัวหนอนของมด ที่รัง ดังนั้น หากมดงานนำเจลมด นี้กลับไปแจกจ่ายที่รัง และนางพญา ทุกๆตัวก็จะตาย และจะส่งผลให้รังนั้นล่มสลายในที่สุด

แมลงสาบ คือ แมลงดึกดำบรรพ์ ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานกว่า 250 ล้านปี มีแหล่งกำเนิดในเขตอบอุ่น และแพร่กระจายพันธุ์ ไปทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันพบมากกว่า 4000 สายพันธุ์  สายพันธุ์ที่พบบ่อยในประเทศไทย เช่น แมลงสาบอเมริกัน เยอรมัน แมลงสาบผี   ออกหากินในเวลากลางคืน กินได้ทุกอย่างแม้กระทั่ง เศษเล็บ หรือ แมลงสาบด้วยกันเองชอบอาศัยในที่ สปกรก ชื้น อับ มืด เช่น ซอกมุมโต๊ะ ตู้ ใต้อาคาร เพดาน ห้องครัว ท่อ กล่องลัง กองขยะ เป็นต้น แมลงสาบเป็นแมลงที่ปรับตัวเก่ง อึดทนทาน แพร่พันธุ์เร็ว และทนทานต่อสารเคมี ทำให้จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่กำจัดยากชนิดหนึ่ง

ความอันตรายจากแมลงสาบ

1.แมลงสาบเป็นพาหะนำโรค มักสำลอกน้ำลายหรือถ่ายมูล ตลอดทางที่เดินผ่าน ไม่ว่าจะเป็นบนสิ่งของหรืออาหาร ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคในที่ต่างๆ กลายเป็นพาหะนำโรค เช่น บิด อุจจาระร่วง ไทฟอยด์ ไข่พยาธิต่างๆ เป็นต้น

2.กลิ่นของแมลงสาบที่ปล่อยออกมามีสารพิษหรือสารก่อ ภูมิแพ้เจือปน ทำให้เกิดอาการต่างๆได้แก่ ผิวหนังเกิดอาการแพ้ คัน อักเสบ อาการหอบหืด

วิธีการกำจัดเบื้องต้นด้วยตนเอง

1.ทำความสะอาดพื้นที่ให้สะอาดอยู่เสมอ

2.ปิดช่องทาง รอยแตกที่เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งหลบซ่อนของแมลงสาบ

3.เก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด และทิ้งเศษอาหารทุกครั้งในที่ที่ป้องกันไม่ให้แมลงสาบเข้าไปได้

4.ใช้สเปร์ยฉีด (ควรมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ)

 

วิธีการป้องกันกำจัดโดยผู้เชี่ยวชาญ

1.สำรวจโครงสร้าง พื้นที่ พร้อม ระบุปัญหาและการระบาด

2.ให้ความรู้ คำปรึกษาด้านสุขาภิบาล การรักษาความสะอาดในพื้นที่

  1. 3. ปฏิบัติงานโดยใช้สารเคมี เพื่อควบคุมไม่ให้ปริมาณแมลงสาบเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีสารเคมีหลายรูปแบบ ทั้ง แบบน้ำ หรือสเปรย์ละอองฝอย ควัน ผงโรย เหยื่อ เจล

4.ติดตามปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพราะแมลงสาบเป็นสัตว์ที่แพร่พันธุ์เร็ว ดังนั้นควรลดปริมาณของตัวเต็มวัยให้ด่วนที่สุด เพื่อให้ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้

เป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ และนำความเสียหายแก่เศรษกิจของมนุษย์เป็นจำนวนมหาศาลทั้งทางตรงและทางอ้อม

โดยแหล่งอาศัยของหนูขุดรูอาศัยภายใต้อาหาร ตามคันดินคันคลองหรือในท่อระบายน้ำเสีย

ความอันตรายจากหนู

1.การกัดแทะสิ่งของต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายใช้งานไม่ได้

2.รวมทั้งการปนเปื้อนในที่เก็บรักษา ระหว่างการขนส่งและการแปรรูปผลผลิตจนกระทั่งอยู่ในมือผู้บริโภค

เป็นพาหะสำคัญที่นำโรคสู่คนและสัตว์เลี้ยง เช่น โรคฉี่หนู (leptospirosis) โรคไข้หนู (murine thyphus) กาฬโรค (plaque) โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

 

วิธีการป้องกันและกำจัดด้วยตนเอง

การปรับปรุงตามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย โดยใช้หลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี เน้นการรักษาความสะอาด การเก็บขยะมูลฝอยที่มิดชิด และการกำจัดที่ถูกต้องเพื่อลดปัจจัยพื้นฐานที่หนูต้องการในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำและที่อยู่อาศัย เป็นต้น

วิธีการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ

มีการจัดการทั้งวิธีการที่ไม่ใช้สารเคมี เช่น วิธีกล ได้แก่ การใช้กรง ใช้กาวดัก ใช้กับดักแบบต่างๆ และวิธีการใช้สารเคมี โดยสารเคมีที่ผู้เชี่ยวชาญใช้เป็นสารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า หลังจากนั้นจะมีการดำการสำรวจร่องรอยหนูและปริมาณในการกัดแทะ เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้แสดงผลเปรียบเทียบ

ยุงแบ่งออกได้เป็น 3 จำพวกใหญ่ๆ 1.ยุงยักษ์ 2.ยุงก้นปล่อง 3. ยุงลายและยุงรำคาญ วงจรชีวิตของยุงคือ เป็นไข่ / ไข่ฟักเป็นลูกน้ำ ภายใน 1-3 วัน / ตัวโม่ง 1-3 วัน จนกลายเป็นตัวเต็มวัย อายุขัยประมาณ 1-5 เดือน ยุงตัวเมียเท่านั้นที่ดูดเลือด  มักก่อปัญหา ทั้งในชุมชน ก่อความรำคาญ นำพาโรค เป็นแมลงที่ออกหากินได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เวลามีการระบาดของโรค ก็ควรป้องกันตัวเรา ไม่ให้ยุงดูดเลือดจากตัวเราได้

ความอันตรายจากยุง

เป็นที่ทราบกันดียุงเป็นแมลงที่อันตรายที่สุดในโลก เพราะยุงสามารถเป็นพาหะนำโรคเข้าสู่ร่างการมนุษย์ได้หลายโรค ที่สำคัญ คือยุงลาย ก่อ ไข้เลือดออก ซิกา ชิคุนกุนยา ยุงก้นปล่องนำโรคมาลาเลีย  ยุงเสือพาหะโรคเท้าช้าง  ไข้สมองอักเสบจากยุงรำคาฯชนิดหนึ่ง และอีกหลายๆโรค

การควบคุมและป้องกันด้วยตนเอง

1.ใช้ยากันยุง หากไม่ชอบกลิ่น สามารถใช้พัดลมช่วยพัดไล่

2.การกางมุ้ง หรือ ติดตั้งมุ้งลวดหน้าต่าง

3.การใช้เครื่องดักยุงหรือ Mosquitoes trap

4.จัดการแหล่งเพาะพันธุ์ ในพื้นที่ที่น้ำขัง หมั่นสำรวจเป็นประจำทุกวันเพื่อตัวเราเองและคนที่อยู่รอบข้าง

วิธีการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ

1.การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ถูกวิธี มีตั้งแต่การใช้สารควบคุมกำจัดลูกน้ำยุง การพ่นหมอกควัน การอบละออง

2. ติดตั้งเครื่องดักแมลง เพื่อช่วยดักจับ และบันทึก ติดตามผลการระบาดของยุงในพื้นที่

แมลงวันบ้าน เป็นแมลงวัน ที่พบมากที่สุด มีมากถึงร้อยละ 83 ของแมลงวันทั้งหมด พบได้ ทั่วไปตามบ้านเรือน กองขยะ เศษอาหาร ซากสัตว์ โดยเฉพาะบริเวณที่มีเศษอาหารหรือซากสัตว์เน่า แมลงวันมี 4 ระยะ ไข่/ตัวหนอน/ดักแด้/เต็มวัย

 

ความอันตรายจากแมลงวัน

แมลงวันถือว่าเป็นแมลงที่จัดอยู่ในกลุ่มของแมลงศัตรูทางการแพทย์ เชื้อโรคจะมาจากปาก ขา และขน ของแมลงวัน ที่มาตอมอาหาร ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคตาแดง ริดสีดวงตา พยาธิ ท้องร่วง ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ โรคอหิวาตกโรค จากประวัติการระบาดพบว่าในปีพ.ศ. 2553 มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคทั่วโลกประมาณ 3-5 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ100,000-130,000 คนต่อปี  นอกจากนี้ ยังพบว่าแหล่งเพาะพันธุ์มักมีกลิ่นเหม็น ทำลายทัศนียภาพ และมีผลต่อความเป็นอยู่ของคนและสัตว์

การควบคุมและป้องกันด้วยตนเอง

1.การรักษาความสะอาดในพื้นที่ลดแหล่งเพาะพันธ์ เช่น เศษอาหาร ซากเน่า สิ่งปฏิกูลในพื้นที่

2.ทำความสะอาดแหล่งดึงดูดแมลงวันเข้ามาในพื้นที่ เช่น คราบน้ำจิ้ม คราบน้ำหวาน คราบเศษอาหาร เป็นต้น

3.การควบคุมโดยการใช้วิธีกล ทำได้โดยการใช้กับดักแมลงวันที่ประดิษฐ์จากขวดน้ำพลาสติก ใช้กับดักกาว ใช้ไม่ตีแมลงวัน เป็นต้น

วิธีการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

1.มีการเข้าสำรวจพื้นที่เพื่อตรวจสอบจุดเสี่ยงของปัญหาและตรวจหาแหล่งเพาะพันธ์ในพื้นที่

2.หากพบแหล่งเพาะพันธ์จะมีกระบวนการในการกำจัดด้วยการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนแมลงวัน ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

3.ในการกำจัดตัวเต็มวัยจะควบคุมด้วยวิธีการติดตั้งเครื่องดักแมลงที่จะสามารถดึงดูดและลดปริมาณแมลงวันตัวเต็มวัยที่บินรบกวนในพื้นที่

4.ในด้านการกำจัดด้วยสารเคมี สารเคมีที่ทางบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญใช้จะผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่อนุญาตให้สามารถใช้ในบ้านเรือนและกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม โดยจะมีรูปแบบการฉีดพ่นแบบพ่นหมอกควันและพ่นละอองฝอยด้วยอุปกรณ์เฉพาะทาง

ตัวเรือดเป็นปรสิตภายนอกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกจึงจัดเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ เนื่องจากตัวเรือดสร้างความรำคาญต่อมนุษย์และสัตว์ด้วยการดูดกินเลือด และยังทำให้เกิดการแพ้ ผิวหนังอักเสบและบวมบริเวณที่ตัวเรือดดูด การระบาดของตัวเรือดพบได้ในหลายทวีป เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป และเอเชีย

แหล่งที่สามารถพบเจอตัวเรือด คือ โรงแรม โรงพยาบาล ที่พักชั่วคราว ค่ายทหาร อพาร์ทเมนต์ สถานที่หลบซ่อนของตัวเรือด เช่น โครงเตียง หัวเตียง ฟูกนอน หมอน ในผ้าม่าน ตามขอบและตะเข็บของเครื่องเรือน ตัวค่อนข้างเล็กและอาจดูดเลือดขณะมนุษย์หลับหรือพักผ่อน

การควบคุมและป้องกันด้วยตนเอง

1.คอยเผ้าสังเกตุ ระวัง หาแหล่งที่อยู่อาศัยของตัวเรือด 

2.ใช้เครื่องดูดฝุ่น หรือไอความร้อนดูดให้ทั่วพื้นที่

3.นำเครื่องนอนไปซักด้วยความร้อน

4.ทิ้งของใช้ที่เป็นแหล่งที่อยู่ของตัวเรือด

วิธีการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ

เน้นการกำจัดโดยดูจากพฤติกรรม วงจรชีวิต และแหล่งที่อยู่อาศัย อาจจะใช้วิธีกำจัดด้วยเครื่องพ่นไอน้ำด้วยความร้อนสูงถึง 180 องศาเซลเซียสฉีดพ่นในบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัยของตัวเรือด หรือการใช้สารเคมีฉีดพ่นตามร่องและรอยแตกของพื้นบ้านที่คาดว่าจะเป็นแหล่งหลบซ่อนอาศัย

จัดเป็นสายพันธุ์ของจิ้งจกจัดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles) เป็นสัตว์เลือดเย็นล่างกายปกคลุมด้วยเกล็ด

สัตว์เลื้อยคลาน มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในกลุ่ม Labyrinthodont ที่นักชีววิทยาต่างยอมรับในด้านของการวิวัฒนาการ เป็นสัตว์ที่มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัวเช่นเดียวกับปลา พบมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแพร่พันธุ์ไปในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งแอฟริกาตะวันออก, นิวกินี, เม็กซิโก, มาดากัสการ์, ออสเตรเลีย และหลายพื้นที่ทั่วโลก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามที่พักอาศัย สำหรับชนิดที่พบได้บ่อยและแพร่หลายที่สุดในประเทศไทย คือ จิ้งจกบ้านหางแบน และจิ้งจกบ้านหางหนาม

ความอันตรายจากจิ้งจก

การนำโรค มูลจิ้งจก มีเชื้อ ซัลโมเนลล่า ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ, โรคไข้รากสาดน้อย หรือไข้ไทฟอยด์, โรคไข้รากสาดเทียม, ลำไส้อักเสบ, โรคอุจจาระร่วง, โลหิตเป็นพิษ อีกทั้งยังสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงในคน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กเล็กและผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ในรายที่รุนแรงอาจติดเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมอง ถึงแก่ชีวิตได้           

การควบคุมและป้องกันด้วยตนเอง

1.จัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบไม่วางสิ่งของทิ้งไว้เป็นเวลานานเพื่อไม่ให้จิ้งจกมีแหล่งหลบซ่อน

2.ควบคุมการเปิดไฟบริเวณตัวบ้านหรือสถานประกอบการ เนื่องจากแสงไฟจะเป็นตัวดึงดูดแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก ที่เป็นแหล่งอาหารของจิ้งจก

3.ซ่อมซ่อมอุดเปิดจุดรอยแตกหรือรอยแยกตบริเวณโดยรอบของตัวอาคารด้วย ซิลิโคนชนิดต่างๆ แหล่งหลบซ่อนและแหล่งเพาะพันธุ์ของจิ้งจก

4.วางกับดักจิ้งจก

วิธีการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ

1.สำรวจตรวจสอบร่องรอยจุดเสี่ยงต่างที่คาดว่าจิ้งจกจะสามารถใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดหลบซ่อนได้

2.จำแนกชนิดของจิ้งจกเพื่อวิเคราะห์ชนิดและสามารถเลือกวิธีกำจัดได้อย่างถูกต้องตามพฤติกรรมของแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน

3.แนะนำเจ้าของพื้นที่ให้ดูแลเรื่องของสุขาภิบาลเพื่อลดแหล่งอาหารของจิ้งจกบริเวณโดยรอบ

3.1.แนะนำให้จัดระเบียบสิ่งของไม่ให้เกิดเป็นแหล่งหลบซ่อนและแหล่งเพาะพันธุ์ของจิ้งจก

3.2. แนะนำการซ่อม อุด ปิด จุดรอยแตกหรือรอยแยกตบริเวณโดยรอบของตัวอาคารด้วย ซิลิโคนชนิดต่างๆ

4.ใช้วิธีกายภายและวิธีกลโดยใช้วิธีการจับจิ้งจกออกนอกพื้นที่ เช่น วิธีการ ยิงเคมีแบบโดนตัว(เคมีกลุ่มไพรีทอยไม่สามารถฆ่าจิ้งจกได้แต่สามารถทำให้หยุดการเคลื่อนไหว) หรือ วิธีการใช้กล่องดักจับ เพื่อลดปริมาณตัวเต็มวัยที่สามารถผสมพันธุ์ได้ ทั้งนี้จะส่งผลให้ประชากรจิ้งจกลดลงตามลำดับ

5.ติดตามประเมินผลเพื่อเช็คจำนวนประชากรจิ้งจกในพื้นที่ เช่น การติดบ้านจิ้งจก การใช้กล่องกาวจิ้งจก